กิจกรรมที่ 25 พฤศจิกายน 2553



อธิบาย
เท่าที่จำได้ แถนโลกจะทำมุมกับดวงอาทิตย์ เท่าเดิมตลอด
ไม่ว่าจะโครจรไปถึงช่วงไหนนะครับ
ท่านอาจจะเข้าใจผิดเล็กน้อย
อีกอย่าง หากฤดูกาลเกิดจากแกนโลกที่ปรับทิศ มุมองศาอย่างที่ท่านว่า
โลกใบนี้ หากอยู่คนละพิกันเหนือใต้ที่ไกลห่างกัน จะต้องมีฤดูที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงสิครับ
แต่ฤดูกาลบนโลก (ไม่นับรวม ฤดูกาลเฉพาะ ของภูมิประเทศ)
ก็มีร้อน ฝน หนาว 3 ฤดูหลัก ซุ่งจะตรงกันทุกพื้นที่ทั่วโลก
(อิงจากการเปรียบเทียบสภาพอากาศ ของพื้นที่นั้นๆ ใน 1 รอบปี เช่นฤดูร้อน คือช่วงระยะเวลาที่อุณหถูมิสูงที่สุดในปีนั้นๆ)
กล่าวคือ ฤดูร้อนของพวกเอสกิโม ที่มีแต่น้ำแข็ง จะหมายถึง ฤดูที่อากาศหนาวเย็นน้อยที่สุด
สาเหตุมาจากการโครจรของโลก (ยังคงยืนยันคำตอบเดิมครับ)
เพราะโลกไม่ได้โครจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลมนะครับ
และจากคำตอบของคำถาม ที่ว่าระยะห่างไม่แน่นอน นั่นคือข้ออธิบายครับ
ในช่วงที่โลกโครจรวนรอบมาถึงช่วงที่โลก "อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์น้อยที่สุด คือช่วงฤดูร้อน " ราวๆเดือน มีนาคม - มิถุนายน
และช่วงที่ โลกอยู่ในวงโครจร "ช่วงที่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด คือช่วงฤดูหนาว" ราวๆเดือน พฤษจิกายน - กุมภาพันธ์
ที่เหลืออีก 4 เดือน คือฤดูฝน
ซึ่งจะมากล่าวถึงฤดูกาลที่ได้รับผลกระทบจากภูมิประเทศบ้างครับ
1. ฤดูใบไม้ร่วง --> ประเทศที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากๆ ถึงจะมีครับ จะเกิดขึ้นในช่วงรอบต่อระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว
- เหตุเพราะว่ายิ่งห่างเส้นศูนย์สูตรอุณหภูมิก็ยิ่งต่ำ บางพื้นที่มีหิมะ ดังนั้นต้นไม้จึงต้องผลัดใบทิ้งทั้งต้นเพื่อหยุดการคายน้ำ(คล้ายๆ จำศีล)
2. ฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงอากาศอบอุ่นกำลังดี(สำหรับคนในพื้นที่ แต่ผมว่าน่าจะเรียกว่าหนาวสำหรับบ้านเราได้เลย)
- เป็นช่วงรอยต่อระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อน เป็นช่วงที่หิมะเริมละลายจนหมดและแสงแดดสาดแสงอบอุ่น
+ ต้นไม้จึงผลิใบใหม่มาเพื่อฟื้นฟูจากสภาวะจำศีล และเริ่มสังเคราะห์แสงต่อไป
อนึ่ง. ฤดูกาลที่ผมกล่าวข้างต้นนั้น เกิดจากการเปรียบสภาพอากาศ ณ.พื้นที่เดียวกัน ใน1รอบวงโครจร หรือ 1 ปีนั่นเองครับ
ย้ำอีกครั้งนะครับ *** เปรียบเทียบภายในพื้นที่เดิมเท่านั้นนะครับ ***





อธิบาย  
 หินภูเขาไฟ ลักษณะและรูปร่างของเนื้อหิน- หินไรโอไลต์และหินแอนดีไซต์ เป็นหินที่เย็นและแข็งตัวมาจากลาวาที่มีความหนืดสูงไหลหลาก มาจากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดไม่รุนแรง พบรอบปล่องภูเขาไฟรูปโดม เป็นหินที่เย็นตัวอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อแน่น ละเอียด มีดอกและสีต่างๆ
- หินบะซอลต์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการระเบิดแล้วไหลออกมาแข็งตัวภายนอก เนื้อหิน เย็นตัวและแข็งตัวจากลาวาที่มีไอน้ำหรือแก๊สปนอยู่ จึงมีเนื้อแน่นละเอียดและมีรูพรุน
- หินทัฟฟ์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการแข็งตัวของเศษหินต่างๆ ที่พ่นขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟ เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรง จึงมีเนื้อแน่น ประกอบด้วยเศษหินละเอียดต่างๆ
- หินออบซิเดียน เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมา จึงมีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว    ไม่มีรูปผลึก
- หินพัมมิซและหินสคอเรีย เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมากลายเป็น ก้อนแก้วที่มีฟองอากาศเป็นรูพรุนอยู่ภายใน แรงระเบิดทำให้แตกออก จึงเป็นเศษหินที่มีรูพรุน คล้ายรังผึ้ง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ สิ่งที่ต่างกันระหว่างหินพัมมิซและหินสคอเรีย คือ หินพัมมิซมีสีอ่อน ส่วนหินสคอเรียมีสีเข้ม


ที่มา :  http://www.krugoo.net/archives/386



อธิบาย

   เมื่อภายในโลกเย็นตัวลง และมีการยุบตัวลงอีกที่ผิวนอก และเกิดรอยย่นเพราะการเปลี่ยนแปลงของความกดดันของโลกภายใน จึงทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวลึกขึ้นในส่วนต่างๆ ฝนที่ตกลงมาผสมกับก๊าซบางอย่างในอากาศ ทำให้มีสภาวะเป็นกรด กร่อนและเซาะภูเขาให้เว้าแหว่ง   หลุดเลื่อนลงไปยังส่วนที่ต่ำที่สุด และเมื่อฝนตกลงมาอีก ก็ชะเอาส่วนที่สึกกร่อนอันประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ และสอ่งอื่นๆไปด้วย แร่ธาตุและเกลือเหล่านี้จะลงไปสะสมอยู่ในทะเลมากขึ้นจนทำให้น้ำมีรสเค็ม และเนื่องจากน้ำเป็นของเหลว เมื่อถูกความร้อนหรือได้รับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ ก็เกิดปรากฎการณ์เอ่อนูนและลดต่ำ เป็นน้ำขึ้นน้ำลง และมีกระแสน้ำหมุนเวียน ทำให้ผิวโลกถูกทำลายให้เปลี่ยนแปลงลักษณะอยู่ตลอดเวลา
                  เทือกเขาที่โผล่สูงขึ้นมาก็เกิดพังลงเพราะอำนาจของแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ ในขณะที่ผิวไลกเกิดการหดตัว ผิวโลกบางส่วนที่เป็นของแข็งก็แตกร้าวเป็นร่องกว้าง ทำให้หินเลื่อนมากระทบกัน และก็มีไม่น้อยที่ชั้นของหินถูกแรงกดดันภายในโลกดันให้โผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทร ทำให้เกิดเป็นเกาะหรือทวีป
                    การเคลื่อนที่ทันทีทันใด เกี่ยวกับการหดตัวของผิวโลก และหินเลื่อนกระทบกัน หรือหินเดือดภายในโกลกดดัน ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น แร่ธาตุที่ร้อนจัดละลายอยู่ภายในของโลกก็พุ่งขึ้นมาตามรอยร้าวของหิน พ่นเอาก๊าซ และลาวาขึ้นมาด้วย เกิดเป็นภูเขาไฟ จึงมาลาวาปกคลุมผิวโลกอยู่ และนานนับล้านปีจึงจะสึกกร่อนกลายเป็นแผ่นดินไปได้บ้าง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้จากพื้นที่จำนวนหลายแสนตารางไมล์ ทางบริเวณตะวันตกของประเทศแคนาดาปัจจุบัน ที่ปกคลุมด้วยหินลาวาและเกิดเป็นเทือกเขา ลอเรนเตียนส์ ให้เห็นจนทุกวันนี้
                 เทือกเขาสูงๆ ทั้งหลายบนโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาร็อกกี้ เทือกเขาแอล์ป และเทือกเขาแอนดีส ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาบางลูก ยังปรากฎให้เห็นอยู่ว่าถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อยๆจนทุกวันนี้
                  ไม่ถึงล้านปีมานี้เอง ภูเขาแคสเคดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ได้โผล่ขึ้นมาจากทะเล ด้วยอำนาจของการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณนั้น การระเบิดในส่วนอื่นๆของโลกทำให้เกิดภูเขาไม่น้อย แม้ในยุคประวัติศาสตร์ ก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในหลายแห่ง
                   การเกิดของภูเขา ทำให้ผิวโลกเปลี่ยนแปลงไป และยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ในยุคนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพเหมาะสมที่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น ทำให้โลกพัฒนาการมาได้อย่างน่าประหลาด
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน
เมื่อแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเคลื่อนที่เข้าปะทะกันนั้น เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นมีความหนาแน่นน้อยและลอยตัวได้ด้วยกันทั้งคู่ ทำให้ไม่มีแผ่นเปลือกโลกแผ่นใดมีการมุดตัว แต่จะมีการยกตัวและเปลี่ยนรูปของดินหินที่สะสมบริเวณแนวขอบแผ่นทวีปไป ทำให้เกิดเป็นเทือกเขา โดยเทือกเขาบนโลกที่เราพบเห็นกันทุกวันนี้ โดยมากก็เกิดจากสาเหตุนี้นันเอง ตัวอย่างคือเทือกเขาหิมาลัย (the Himalayas)ที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลียน-อินเดียนชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน นอกจากนี้ยังมีเทือกเขาอื่นที่เกิดจากสาเหตุนี้เช่น เทือกเขาแอลป์ (Alps), เทือกเขายูราลส์ (Urals) และเทือกแอปพาเลเชียน (Appalachaians)



อธิบาย

   หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี
%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99




อธิบาย

ทุกทวีปในโลก เคยเป็นแผ่นดินเดียวกันนักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิ ได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและ ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตา ร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น


ที่ มา



อธิบาย

แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดิน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7#.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B9.80.E0.B8.AB.E0.B8.95.E0.B8.B8.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.80.E0.B8.81.E0.B8.B4.E0.B8.94.E0.B9.81.E0.B8.9C.E0.B9.88.E0.B8.99.E0.B8.94.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B9.84.E0.B8.AB.E0.B8.A7



อธิบาย

หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ
การเรียกชื่อหินชั้น
เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยได้รับการนิยมเท่าใดนัก เนื่องจากนักธรณีวิทยาพบว่ามีหลายครั้งๆ ที่หินอัคนีหรือหินแปรก็แสดงลักษณะเป็นชั้นๆเช่นกัน เช่น ชั้นลาวาของหินบะซอลต์ หรือริ้วรอยชั้นเนื่องจากการแปรสภาพชองหินไนส์ และในบางครั้งหินตะกอนก็ไม่แสดงลักษณะเป็นชั้นๆก็มี ดังนั้นทางด้านการศึกษาธรณีวิทยาของประเทศไทยจึงพยายามรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปให้ใช้ชื่อ หินตะกอน ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่าหินชั้น

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99




อธิบาย
ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร

ลักษณะเฉพาะ
ฐานธรณีภาคเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหินหนืดตอนบนและวางตัวใต้ชั้นธรณีภาค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ความร้อนและความดันทำให้ชั้นธรณีภาคมีลักษณะหลอมและมีความหนาแน่นต่ำ คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วต่ำเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นฐานธรณีภาคเมื่อเทียบกับชั้นธรณีภาค เรียกว่า บริเวณความเร็วคลื่นต่ำและความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนจะลดลงเมื่อความแข็งแกร่งของชั้นนั้นๆ ลดลง ใต้แผ่นสมุทรซึ่งมีขนาดบางระดับชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ไม่ห่างจากระดับพื้นผิวและจะห่างไม่กี่กิโลเมตรเมื่ออยู่ในบริเวณเทือกเขากลางสมุทร
บริเวณส่วนบนของชั้นฐานธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งและมีชั้นธรณีภาคซึ่งรวมไปถึงชั้นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที ด้วยสภาวะที่มีความร้อนและความดันสูงทำให้หินส่วนนี้มีความยืดหยุ่นและสามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรต่อปีไปจนถึงเคลื่อนได้เป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร อย่างไรก็ตามการไหลของหินหนืดเป็นลักษณะกระแสวนและมีการแผ่รังสีความร้อนออกมาจากภายในโลก สำหรับหินที่อยู่เหนือชั้นฐานธรณีภาคจะมีความยืดหยุ่น, เปราะและแตกหักซึ่งทำให้เกิดรอยเลื่อนได้ ชั้นธรณีภาคซึ่งมีความแข็งกว่าจะลอยหรือเคลื่อนที่อย่างเชื่องช้าบนชั้นฐานธรณีภาคทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นเปลือกโลก




ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84


4 ความคิดเห็น: