กิจกรรมที่ 15-19 พถศจิกายน 2553

ส่งงาน

สืบค้นข้อมูล


1. ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง เกิดจากก๊าซที่มีการระเบิดอยู่ตลอกเวลา ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อน ได้แก่ ดวงอาทิตย์ กลุ่มดาวจักราศี ดาวเหนือ
2. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสง และพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยดาวฤกษ์จะมีทั้งหมด  9 ดวง จึงเรียกว่า “ ดาวพระเคราะห์” ประกอบด้วย
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจึงร้อนที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4850 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 57.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 และมีสว่างมากที่สุดในยามค่ำคืนจึงเรียกดาวศุกร์ว่า “ ดาวประจำเมือง” ในช่วงเช้ามือ เราเรียกว่า “ ดาวประกายพรึก”ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12032 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 107.52 ล้านกิโลเมตร
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 3 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12739 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 148.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีลักษณะใกล้เคียงกับโลก มีน้ำแข็งปกคลุมทั่วทั้งหมด มีไอน้ำ กลางวันดาวอังคารจะเย็นกว่าโลก เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ส่วนกลางคืนก็เย็นจัดกว่าโลก ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6755 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 225.60 ล้านกิโลเมตร
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่และหนักกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ประกอบด้วยกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม มีดวงจันทร์ถึง 16 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 141968 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 722.80 ล้านกิโลเมตร
ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 เป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะมีวงแหวนซึ่งเป็นกลุ่มก้อนน้ำแข็งที่โคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเสาร์จึงมีอากาศหนาวจัด มีดวงจันทร์เป็นบริวาลทั้งหมด 18 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 119296  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 1417.6 ล้านกิโลเมตร
ดาวยูเรนัส  เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 นิยมเรียกว่า “ ดาวมฤตยู” มีดวงจันทร์ 5 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 52096  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2852.8 ล้านกิโลเมตร
ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 8 คนไทยเรียก “ ดาวเกตุ” มีดวงจันทร์ 8 ดวง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 48600  กิโลเมตร อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4496.6 ล้านกิโลเมตร



ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec01p02.html

ตอบข้อ 2 ครับ


สืบค้นข้อมูล
องค์ประกอบหลักของดาวพฤหัสบดีคือ ก๊าซไนโตรเจนและก๊าซฮีเลียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบประมาณ 75% และ 25% โดยมวลตามลำดับ นอกจากก๊าซสองชนิดหลักแล้วยังมีสารอื่นๆปะปนอยู่บ้างแต่มีปริมาณน้อยมาก การศึกษาธาตุองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดีอย่างละเอียดชี้ให้เห็นว่า ดาวพฤหัสบดีมีปริมาณธาตุองค์ประกอบคล้ายกับดวงอาทิตย์มาก แสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์ก๊าซดวงนี้แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเลยตั้งแต่รวมตังขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
     เนื่องจากดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ จึงไม่มีพื้นผิวแข็งที่ชัดเจนดังเช่นโลกหรือดาวเคราะห์แข็งอื่นๆ แต่เนื้อสารชั้นบนบริเวณผิวของดาวค่อยๆ เบาบางลงและหายไปในอวกาศ ในการศึกษาดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์จึงใช้ระดับที่มีความดัน 1 บาร์ ( เท่ากับความดันที่ผิวโลก ) ของบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีเป็นรัศมีของดาว หากใช้นิยามนี้ ดาวพฤหัสบดีจะมีรัศมีประมาณ 70,000 กิโลเมตร ที่ระดับผิวดาวเป็นแนวยอดเมฆ ( Cloud Top ) ของดาวพฤหัสบดีซึ่งมีอุณหภูมิ -148 องศาเซลเซียล ( 125 เคลวิน ) และความหนาแน่นประมาณ 0.0002 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมซึ่งเป็นองค์ประกอบเกือบทั้งหมดแล้ว บรรยากาศดาวพฤหัสบดียังมี มีเท แอมโมเนีย แอมโมเนียม ไฮโดรซัลไฟด์ และน้ำเป็นองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีปรากฏมีสีแดงเรื่อๆ ในบริเวณต่างๆอย่างที่เป็น เพราะหากดาวพฤหัสบดีมีเพียงไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวทั้งสองจะเป็นเพียงก้อนก๊าซยักษ์ไร้สีสัน บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีมีลมพัดแรงทั้งดวง หลายบริเวณมีความเร็วสูงถึง 650 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการที่ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองในเวลาเพียง 10 ชั่วโมงเท่านั้น ( เมื่อเทียบกับขนาดมหึมาของดาวพฤหัสบดีแล้ว นับว่าเป็นความเร็วที่คล้ายกับการหมุนของลูกข่าง ) นอกจากนี้การหมุนที่รวดเร็วยังทำให้ดาวพฤหัสบดีมีลักษณะกลมแป้นคล้ายผลส้มคือ มีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรยาวกว่าบริเวณขั้วอย่างเห็นได้ชัด (เส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วและที่เส้นศูนย์สูตร คือ 133,708 และ 142,984 กิโลเมตร ตามลำดับ)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/prae/narerat/the_solar_system/jupiter.htm

ตอบข้อ 2 ครับ







สืบค้นข้อมูล
ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุกๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธานไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิต

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C

ตอบ ข้อ 2




สืบค้นข้อมูล


โชติมาตรปรากฏ (อังกฤษ: apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้โชติมาตรปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าโชติมาตรปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2)
ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นโชติมาตรปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าโชติมาตรปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น


ระดับของโชติมาตรปรากฏ
โชติมาตรปรากฏวัตถุท้องฟ้า
−26.73ดวงอาทิตย์
−12.6ดวงจันทร์เต็มดวง
−4.4ความสว่างสูงสุดของ ดาวศุกร์
−2.8ความสว่างสูงสุดของ ดาวอังคาร
−1.5ดวงดาวที่สว่างที่สุดในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น: ดาวซิริอุส
−0.7ดวงดาวที่สว่างเป็นอันดับสอง: ดาวคาโนปัส
0ค่าศูนย์ เดิมเคยนิยามให้ใช้ค่าความสว่างของดาวเวกา
3.0ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ในเมือง
6.0ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
12.6ควอซาร์ที่สว่างที่สุด
27ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตรในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
30ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
38ความสว่างน้อยสุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ OWL (อนาคตปี ค.ศ. 2020) ในย่านความยาวคลื่นที่ตามองเห็น
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F

ตอบ  ข้อ  4 ครับ



สืบค้นข้อมูล

ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลคือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87

ตอบ ข้อ 1



สืบค้นข้อมูล

วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์
   เมื่อดาวฤกษ์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเกือบหมด ฮีเลียมจะกลายเป็นเชื้อเพลิงต่อไป   จะเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุอื่น ๆ ต่อไปจน
เชื้อเพลิงหมดลง  ดาวฤกษ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากการขยายเป็นดาวยักษ์แดง  วาระสุดท้ายจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมวลสารของดาวฤกษ์ดาวนั้น
      ดาวฤกษ์มวลสารน้อยขนาดเล็ก             กลายเป็น          ดาวแคระขาว
      ดาวฤกษ์มวลสารปานกลาง                   กลายเป็น          ดาวนิวตรอน
      ดาวฤกษ์มวลสารมาก                           กลายเป็น          หลุมดำ

ที่มา  : http://www.waghor.go.th/v1/elearning/astro/universe_life1.php

ตอบ ข้อ 2 ครับ




สืบค้นข้อมูล

 ถ้าเราดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าดาวฤกษ์แต่ละดวงนั้นมีสีไม่เหมือนกันแต่เดิมนั้นมีการจำแนกสีดาวฤกษ์ออกเป็น  4 ประเภท  คือ  แดง  ส้ม  เหลือง และขาว  แต่ละสีแทน อุณหภูมิของดาวฤกษ์  สีขาวแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนจัดที่สุด   ส่วนสีแดงแทนดาวฤกษ์ที่ร้อนน้อยที่สุด  การให้สีอย่างนี้ก็คล้ายกับสีของชิ้นเหล็กที่กำลังถูกไฟเผา  ในตอนแรกมันจะร้อนแดงก่อน   ต่อมาเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นสีของมันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ  จนกระทั่งเป็นสีขาวแกมน้ำเงินในที่สุด  แต่นักดาราศาสตร์ปัจจุบันได้จำแนกสีของดาวฤกษ์ตามอุณหภูมิของมันเป็น  7  ประเภทใหญ่ๆ 





ประเภท
สี
อุณหภูมิ (   ํ F)
O
น้ำเงิน - ม่วง
50,000 - 90,000
B
น้ำเงิน - ขาว
18,000 - 50,000
A
ขาว
13,500 -  18,000
F
ขาว -  เหลือง
10,800 - 13,500
G
เหลือง
9,000  - 10,800
K
ส้ม
6,300  -   9,000
M
แดง
4,500   -   6,300


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/33/root/THECOLOROFSTARS.html

ตอบ ข้อ 2 ครับ





สืบค้นข้อมูล


ความสว่างของดาวฤกษ์
 ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1

เริ่มจาก ความสว่างกัน 100 เท่า แมกนิจูดต่างกัน 5 เท่า

แมกนิจูดต่างกัน 1 ความสว่างต่างกัน 2.5 เท่า

แมกนิจูดต่างกัน 2 ความสว่างต่างกัน 2.5 ยกกำลัง2 = 6.25

5 5 = 100



magnitude m=-2.5 logf

ถ้า ความสว่างมาก f มีค่ามาก m ก็จะติดลบและมีค่ามาก

ผลต่างแมกนิจูด = -2.5 ความสว่างต่างกันกี่เท่า

-3.5--1.5 = 2.5 ยกกำลัง 2 = 6.25


ตอบข้อ 3 ครับ



4 ความคิดเห็น: